จังหวัดที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอดีตไม่ใช่จะมีแค่ที่ทราบกันแต่ยังมีอีกหลายจังหวัดแต่หากจะกล่าวถึงพระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุดในเมืองไทยหลายคนจะนึกอ๋อทันที่ ใช่แล้วครับเรากำลังจะกล่าวถึงพระพุทธชินราชแห่งจังหวัดพิษณุโลกครับ หากการไปเที่ยวนี้ ไม่มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการ พระพุทธชินราชก็อาจจะกล่าวได้ว่ายังไปไม่ถึงพิษณุโลกอย่างแท้จริง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดใหญ่” ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร และเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีการสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ …
ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า ” ในราวพุทธศักราช 1900 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร 4 ทิศ มีพระระเบียง 2 ชั้น และทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง 3 หลัง”
ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก หล่อในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ซึ่งได้สร้างพระพุทธชินราช พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. 2146
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าทีฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจรเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์
ในตำนานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไท) ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 319 จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์
ปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดจึงได้หล่อองค์จำลองขึ้นแทน
หลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระเหลือ
พระปรางค์ประธาน
องค์พระปรางค์ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การเดินทางไปยังพิษณุโลก
- รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางที่ผ่านเพชรบูรณ์และหล่มสัก แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-พิษณุโลกระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง
- รถไฟ
ทางการรถไฟ แห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน สอบถาม หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. 0 5525 8005 หรือ www.railway.co.th
- รถโดยสารประจำทาง
จาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบริการรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศไปยังพิษณุโลกตลอดวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. 0 5524 2430 รถประจำทางปรับอากาศ ติดต่อ พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ โทร. 0 2936 2924-5 หรือ 0 5525 8647 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0199 หรือ 0 5521 1922 วินทัวร์ โทร. 0 2936 3753 หรือ 0 5524 3222
นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกกับจังหวัดต่างๆ ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน
- เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ และพิษณุโลกทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที สอบถามกำหนดการเดินทาง โทร. 1566 ติดต่อสำรองที่นั่ง โทร. 0 2280 0060 หรือ 0 2628 2000, 0 2356 1111 หรือที่สำนักงานพิษณุโลก โทร. 0 5524 2971-2 หรือ www.thaiairways.com
Historic and cultural city in the past would not have known, but there are many provinces, but we will have the most beautiful Buddha images in Thailand, many people will immediately think oh. Yes, we're going to mention it a destination of Phitsanulok. If you do this. Not have been worshiped. A destination, it may be said that it is not true to Phitsanulok.
Wat Phra Sri Ratana Mahathat. Or commonly referred to as "Wat Yai" Buddha is located on the east banks of the Nan River. Opposite the Town Hall, Bangalore. The monastery of Phitsanulok classy. And is measured with a long history since the Sukhothai period. Art, architecture and sculpture, more beautiful. Considered as a precious cultural heritage of the city of Phitsanulok.
Wat Phra Sri Ratana Mahathat. There is no evidence that it was built on. There is an assumption that was created before the Sukhothai period. The original monastery. We have found evidence that there are Sukhothai stone inscriptions. Srinagar King of the dental filling made of the main elements Aromatherapy ...
The Chronicles of noted that "in about 1900 AD, Sri Dharma's scriptures. (King Trrmracha Lithai) he was crowned king of Sukhothai. His religious faith in Buddhism is very reserved. He also studied the scriptures and other religious Scriptures as seasoned fluently I have none like it. He had built Wat Phra Sri Ratana Maha. In the east bank of the Nan River. A prang in the middle of a temple west of the terrace, 2, 4, and he made a handsome statue of Buddha in the robot body 3 to enshrine the Buddha in the temple, and three behind. "
The year 2458 when King Rama VI. He was pleased to proclaim. The monastery was raised to the highest rank Payday Loans Act of 2458, when present, is a name that Wat Phra Sri Ratana Mahathat.
A destination. It is a bronze statue of Buddha subduing Mara of Sukhothai art at the end of lap five cubits wide and 5 inches high and a further seven elbow cast was King Trrmracha 1 (Paya in time), which has created a destination. Shin Buddhism, along with Si. Si and the prophets. The Chukchi pump is inverted lotus lotus face. I do not have gold. The gilding of the reign of King undecim car. The Buddha once visited destination on the year 2146.
A destination. The Buddha of Wat Phra Sri Ratana Mahathat. Buddha nature is the most beautiful Buddha statue in Thailand. Delicate line around the outside of the body. His face was round, he bent his brows Ektumala a flame. The effect is known as the Kun Lee Tiฆ. The four-inch-long fingers at the other end is always the same. carved wooden arches built in the Ayutthaya period. Carved into the organization. (Trunk-like proboscis-like dragon, but the elephants) is the end of the facade. Ehra and body (like crocodiles) in the middle of the facade. The gods and spirits to protect him, he was two, and R. Dame Ewssuwann Ruak giant.
Legend says that the creation of a destination. A destination built in the reign of Sri Dharma scriptures (prince in time) was created along with Si Shin Buddhism. Si and the prophets. The technician from Satchanalai. Introduce yourself and the city. The only gold that I have completed only the second one. The gold coast is always a destination. I need to do a new print up to three times. Last Indra has helped transform the Chipakaw only Thonglor. On Thursday, the second lunar month to six years so I have achieved 319 Snake Npsk Hulsakrach age.
Today, Shin Buddhism and the Si Si is an invitation to a religious shrine to house the temple Wat temple in Bangkok, the cast was a mock-up.
After creating a destination. Si Shin Buddhism. And the prophets, and Si. I ordered the prince in time bring together the remaining fragments of bronze statue of Buddha cast a broad base of small fraction of the elbow called the Buddha said. "The rest" gold pieces remaining will be casting his disciples, he stood on two bricks of the furnace for gold ingots casting Buddha images. Brought together on the Chukchi (the Chukchi) and Maha Bodhi planted three trees on the triangle between the Chukchi called Pho Pho has built up a small chapel behind the rest of the disciples brought the statue is called the remainder.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น